กิจกรรม 13-17 ธันวาคม 2553


เฉลย ข้อ 4

สืบค้นและวิเคราะห์
สำหรับชั้นหินสรุปดังนี้
         1.หินอัคนี จาก หินหนืดที่แข็งตัวในเปลือกโลกเรียกว่า หินอัคนีแทรกซอนเช่นหินแกรนิต และจากลาวาที่ปะทุออกมาภายนอกผิวโลกเช่นภูเขาไฟ เรียกว่า หินอัคนีพุเช่นหินพัมมิช หินสคอเรีย
         2.หินชั้นหรือหินตะกอน เกิดจากการสะสมหรือทับทมของเศษหิน ดิน ทราย นานเข้าถูกกดทับอัดมีตัวเชี่อมประสานปฏิกิริยาเคมีจนกลายเป็นหินในที่สุด เช่นหินกรวดมน หินทราย หินดินดาน หินปูน
         3.หินแปร เป็นหินที่เกิดจากการแปรสภาพอันเนื่องมาจากความร้อนและความกดดันของโลกเช่น หินไนซ์แปรสภาพมาจากหินแกรนิต หินควอร์ตไซต์แปรสภาพมาจากหินทราย หินชนวนแปรสภาพมาจากหินดินดาน หินอ่อนแปรสภาพมาจากหินปูนครับ ส่วนรายละเอียดอื่นๆดูจากรูปภาพในความคิดเห็นที่ผ่านมาก็ได้ครับ





ตอบ 2.แอมโมไนต์
สืบค้นข้อมูล
แอ มโมไนต์มีชีวิตอยู่ในทะเลในช่วง 240 – 65 ล้านปีก่อน จัดเป็นสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม มีการสร้างเปลือกทำด้วยแคลเซี่ยมคาร์บอเนตเช่นเดียวกับปลาหมึกโบราณ(Nautiloid) แต่มีวิวัฒนาการต่อเนื่องไป โดยวิวัฒนาการแตกแขนงออกเป็นเป็น 2 แบบคือ แบบแรกค่อยลดการมีเปลือกลง จนเป็นหมึกทะเลที่เราบริโภคในปัจจุบัน ส่วนแบบที่สอง เป็นกลุ่มที่สร้างเปลือกคล้ายหอย จะวิวัฒนาการเปลือกให้ม้วนงอเป็นวง จนมีรูปร่างเหมือนหอยฝาเดียว ซึ่งนิยมเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ี้ว่า Ammonite แต่ภายในยังคงสภาพการมีห้องอับเฉา(Septum) และมีท่อสูบฉีดน้ำ (Siphuncle) ช่วยควบคุมการดันน้ำเข้าเช่นเดียวกับหมึกทะเลโบราณ ทำให้สามารถเคลื่อนที่ได้หลายทิศทางเช่นเดียวกับเรือดำน้ำ นอกจากนี้ ยังมีท่อพ่นน้ำ (Siphon) พ่นน้ำออก จึงเคลื่อนได้เร็วในน้ำ

ปัจจุบันนี้ยังมีลูกหลานเหลืออยู่ใน ธรรมชาติ คือ หอยงวงช้าง(Nautilus Shell) ซึ่งมีเปลือกเหมือนหอย แต่ส่วนหัวพัฒนาดีมากเหมือนหมึกทะเล

จากเว็บ http://www.krunok.net/index2.php/?page_id=138
 

ตอบ 1.เคยเป็นทะเลมาก่อน ปัจจุบันเป็นบก
สืบค้นข้อมูล
ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี(index fossil) คือ ซากดึกดำบรรพ์ที่ถูกใช้เป็นตัวกำหนดและระบุระยะเวลาทางธรณีวิทยา เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ บอกอายุได้แน่นอน เนื่องจากมีวิวัฒนาการทางโครงสร้างและรูปร่างอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุอย่างเห็นเด่นชัด และปรากฏให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์ไป เช่น ไตรโลไบท์ แกรพโตไลท์ ฟิวซิลินิด เป็นต้น ตัวอย่าง เช่น การพบซากดึกดำบรรพ์ไตรโลไบต์ในหินทรายแดงที่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล ทำให้นักธรณีวิทยาบอกได้ว่าหินทรายแดงนั้นเป็นหินที่มีอายุประมาณ 570 - 505 ล้านปี หรือการพบซากดึกดำบรรพ์ฟิวซิลินิดในหินปูนที่บริเวณจังหวัดสระบุรี ทำให้นักธรณีวิทยาบอกได้ว่า หินปูนนั้นเป็นหินที่มีอายุประมาณ 286 - 245 ล้านปี เป็นต้น
ตารางเเสดงซากดึกดำบรรพ์ดัชนีในเเต่ละยุค
Index fossils.gif

จากเว็บ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B5
ตอบ 4.ดวงจันทร์สว่างที่สุด ดาวศุกร์เมื่อสว่างที่สุด ดาวซีรีอัส
สืบค้นข้อมูล
ความสว่างและอันดับความสว่างของดาวฤกษ์
ความ สว่างของดาวฤกษ์เป็นพลังงานแสงทั้งหมดที่แผ่ออกมาใน 1 วินาที ส่วนอันดับความสว่างเป็นตัวเลขที่กำหนดขึ้น โดยกำหนดให้ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเมื่อมองด้วยตาเปล่า มีอันดับความสว่างเป็น 1 ส่วนดาวฤกษ์ที่มองเห็นแสงสว่างริบหรี่ มีอันดับความสว่างเป็น 6 ดาวที่มีอันดับความสว่างต่างกัน 1 ความสว่างจะต่างกันประมาณ 2.5 เท่า
- ความสว่าง (brightness) ของดาว คือ พลังงานแสงจากดาวที่ตกบน 1 หน่วยพื้นที่ ในเวลา 1 วินาที
- อันดับความสว่าง (brightness) ของดาวฤกษ์ เป็นตัวเลขที่กำหนดขึ้นเพื่อแสดงการรับรู้ความสว่างของผู้สังเกตดาวฤกษ์ด้วย ตาเปล่า ดาวที่มองเห็นสว่างที่สุดมีอันดับความสว่างเป็น 1 และดาวที่เห็นสว่างน้อยที่สุดมีอันตับความสว่างเป็น 6 นั่นคือดาวยิ่งมีความสว่างน้อย อันดับความสว่างยิ่งสูงขึ้น หรืออยู่อันดับท้าย ๆ ส่วนดาวสว่างมากอยู่อันดับต้น ๆ
- ดาวซีรีอัสเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้าเวลากลางคืน
- ส่วนดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุด คือ ดาวศุกร์
ถ้าอันดับความสว่างของดาวต่างกัน n แสดงว่าดาวทั้งสองดวงจะสว่างต่างกัน (2.512)n เท่า ดังตาราง
- ดาวฤกษ์ริบหรี่ที่สุดที่มองเห็นได้ในเมืองใหญ่มีความสว่างมากกว่าดาวฤกษ์ ริบหรี่ที่สุดที่อาจมองเห็นได้ในชนบท 16 เท่า ซึ่งคำนวณได้ดังนี้
ดาวฤกษ์ทั้งสองดวงมีอันดับความสว่างต่างกัน 3 ดังนั้น ความสว่างจะต่างกัน ประมาณ 16 เท่า

จากเว็บ http://www.anek2009.ob.tc/earth_astro/eart12.htm
ตอบ 4.เป็นปริมาณที่ไม่มีหน่วย
สืบค้นข้อมูล
อันดับความสว่างของดาวฤกษ์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. อันดับความสว่างปรากฏ เป็นอันดับความสว่างของดาวฤกษ์ที่สังเกตได้จากโลกที่มองเห็นด้วย ตาเปล่า แต่ไม่สามารถเปรียบเทียบความสว่างจริงของดาวแต่ละดวงได้ เนื่องจากระยะทางระหว่างโลกและดวงดาวมีผลต่อการมองเห็นความสว่าง ดาวที่มีความสว่างเท่ากันแต่อยู่ห่างจากโลกต่างกัน คนบนโลกจะมองเห็น ดาวที่อยู่ใกล้สว่างกว่าดาวที่อยู่ไกล
2. อันดับความสว่างที่แท้จริง เป็นความสว่างจริงของดวงดาว การบอกอันดับความสว่างที่แท้จริงของดวงดาวจึงเป็นค่าความสว่างปรากฏของดาวใน ตำแหน่งที่ดาวดวงนั้นอยู่ห่างจากโลกเท่ากัน คือ กำหนดระยะทาง เป็น 10 พาร์เซก หรือ 32.61 ปีแสง เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบความสว่างจริงของดาวได้
อันดับความสว่างปรากฏและอันดับความสว่างแท้จริงมีค่าไม่เท่ากัน เช่น ดาวพรอกซิมาเซนเทารีในกลุ่มดาวเซนทอร์มีอันดับความสว่างปรากฏเป็น 10.7 แต่มีอันดับความสว่างแท้จริงเป็น 14.9 เป็นต้น
จากเว็บ http://www.anek2009.ob.tc/earth_astro/eart12.htm

ตอบ 3.ค่าของดาวศุกร์น้อยกว่า
สืบค้นข้อมูล

ความ สว่าง (brightness) ของดาวฤกษ์เป็นพลังงานแสงจากดาวฤกษ์ดวงนั้นใน 1 วินาทีต่อ 1 หน่วยพื้นที่ ความสว่างของดาวฤกษ์จะบอกในรูปของอันดับความสว่าง (magnitude) ซึ่งไม่มีหน่วย อันดับความสว่างเป็นเพียงตัวเลขที่กำหนดขึ้นเพื่อแสดงการรับรู้ความสว่างของ ผู้สังเกตดาวฤกษ์ด้วยตาเปล่า ดาวที่มีความสว่างมาก อันดับความสว่างยิ่งน้อย ส่วนดาวที่มีความสว่างน้อย อันดับความสว่างจะมีค่ามาก โดยกำหนดว่า
  • ดาวฤกษ์ที่ริบหรี่ที่สุดจะมีอันดับความสว่าง 6
  • ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะมีอันดับความสว่าง 1
  • อันดับความสว่างสามารถนำไปใช้กับดวงจันทร์และดาวเคราะห์ได้

  • ถ้าอันดับความสว่างของดาวต่างกัน n แสดงว่าดาวทั้งสองดวงจะสว่างต่างกัน (2.512)n เท่า ดังตาราง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น