วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรม 14 ก.พ. - 18 ก.พ. 2554

ข้อสอบ
1.ข้อใดเป็นตัวอย่างของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์

A. ปล่อยลูกบอลจากตึกสูง
B. นั่งรถไฟเหาะตีลังกา
C. ชูตลูกบาสเกตบอล
D. เล่นชิงช้า
ตอบข้อ C
ที่มาhttp://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/109/unt12/test12.htm


2.การเคลื่อนที่ในแนววงกลมจะเกิดแรงชนิดใดเสมอ

A แรงดึงดูดระหว่าง
B แรงไฟฟ้า
C แรงเฉื่อย
D แรงสู่ศูนย์กลาง
ตอบข้อ D
ที่มมาhttp://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/109/unt12/test12.htm
การเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวดิ่งหรือการตกอย่างเสรีของวัตถุ จะเป็นจริงได้ภายใต้เงื่อนไขข้อใด

A. ไม่คิดความเร็วสุดท้ายของการเคลื่อนที่
B. ไม่คิดแรงต้านของอากาศ
C. วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่
D. วัตถุเริ่มเคลื่อนที่จากสภาพนิ่งเสมอ


ตอบข้อ B
ที่มาhttp://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/109/unt12/test12.htm

สนามแม่เหล็กขนาด 0.04 เทสลา พุ่งลงบนพื้นโต๊ะสี่เหลี่ยมกว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร ในแนวทำมุม 60 องศากับแนวดิ่ง จงหาฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านโต๊ะตัวนี้มีค่าเท่าใด
A 12 เวเบอร์
B 6 เวเบอร์
C .003 เวเบอร์
D .006 เวเบอร์
ตอบข้อ D
ที่มาhttp://grade.mpp3.ac.th/elearning1/sci/..%5Csci%5Csec4%5Cphy%5Ccai%5Cemagnet/test1.html


จำนวนเส้นแรงแม่เหล็กต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ที่ตั้งฉาก เรียกว่าอะไร
A ความเข้มสนามแม่เหล็ก
B ความเข้มสนามไฟฟ้า
C สนามแม่เหล็กอิ่มตัว
D สนามไฟฟ้าอิ่มตัว
ตอบข้อ A
ที่มาhttp://grade.mpp3.ac.th/elearning1/sci/..%5Csci%5Csec4%5Cphy%5Ccai%5Cemagnet/test1.html

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554




คำอธิบาย

สูตร
ระยะทาง ; ระยะทาง = ความเร็ว × เวลา ; เวลา = ระยะทาง /ความเร็ว

ความเร็ว (Speed : S) หมายถึง การเคลื่อนทที่ของวัตถุ คน หรือสิ่งของจากจุดหนึ่งไปยัง
อีกจุดหนึ่งภายในหนึ่งหน่วยเวลา

ตอบข้อ 4. 25 s
คำอธิบาย


ตอบข้อ 1. T2 เป็นปฏิกิริยาโดยตรงกับ l
คำอธิบาย
ประจุไฟฟ้าและสนามไฟฟ้า
1) ปริมาณพื้นฐานในไฟฟ้าสถิตคือประจุไฟฟ้า ประจุไฟฟ้ามีสองชนิด คือประจุบวกและลบ ประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันผลักซึ่งกันและกัน ประจุไฟฟ้าต่างชนิดกันดูดกันประจุไฟฟ้าเป็นปริมาณคงตัว ประจุไฟฟ้าสุทธิในระบบโดดเดี่ยวมีค่าคงตัวเสมอ
2) สสารธรรมดาทั้งหมดประกอบด้วยโปรตอน นิวตรอน อิเล็กตรอน ประจุโปรตอนที่เป็นบวกและนิวตรอนที่เป็นกลางทางไฟฟ้าในนิวเคลียสของอะตอมยึด อยู่ด้วยกันด้วยแรงนิวเคลียส อิเล็กตรอนที่เป็นลบอยู่รอบนิวเคลียสที่ระยะห่างมากกว่าขนาดของนิวเคลียสมาก อันตรกิริยาไฟฟ้าเป็นอันตรกิริยาหลักของโครงสร้างอะตอม โมเลกุล และของแข็ง
3) ตัวนำไฟฟ้าเป็นวัสดุที่ยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ภายในเนื้อวัสดุได้ง่าย ฉนวนไฟฟ้ายอมให้ประจุเคลื่อนที่ได้น้อยกว่ามาก โลหะส่วนใหญ่เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี วัสดุที่ไม่ใช่โลหะส่วนใหญ่เป็นฉนวนไฟฟ้า
4) กฎของคูลอมบ์เป็นกฎพื้นฐานของอันตรกิริยาสำหรับจุดประจุไฟฟ้า สำหรับประจุq1และq2ที่อยู่ห่างกันเป็นระยะrขนาดของแรงที่กระทำต่อแต่ละประจุ แรงที่กระทำต่อแต่ละประจุมีทิศอยู่ในแนวเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างประจุทั้ง สอง แรงนี้เป็นแรงผลักถ้า q1และq2 มีเครื่องหมายเดียวกัน แรงนี้เป็นแรงดูดถ้าประจุทั้งสองมีเครื่องหมายต่างกัน แรงทั้งสองเป็นแรงคู่ปฏิกิริยา และมีสมบัติตามกฎข้อที่สามของนิวตันในระบบ SI หน่วยของประจุไฟฟ้า
5) หลักการซ้อนทับของแรงกล่าวว่า เมื่อประจุสองประจุหรือมากกว่าต่างออกแรงกระทำต่อประจุอื่นประจุหนึ่ง แรงสุทธิที่กระทำต่อประจุนั้นมีค่าเท่ากับผลบวกของเวกเตอร์ของแรงที่กระทำใน แต่ละประจุกระทำ
6) สนามไฟฟ้าเป็นบริเวณเวกเตอร์ทีค่าเท่ากับแรงต่อหนึ่งหน่วยที่ประจุกระทำต่อ ประจุทดสอบที่วางไว้ ณ จุดใด ๆ ทั้งนี้ประจุทดสอบนั้นต้องมีขนาดเล็กพอที่จะไม่รบกวนประจุที่ทำให้เกิดสนาม ไฟฟ้านั้น จากฎของคูลอมบ์ สนามไฟฟ้าที่เกิดจากประจุนั้นคือ
7) หลักการซ้อนทับของสนามไฟฟ้ากล่าวว่า สนามไฟฟ้าของกลุ่มประจุไฟฟ้าใดมีค่าเท่ากับผลบวกของเวกเตอร์ของสนามไฟฟ้าที่ เกิดจากแต่ละประจุ ในการคำนวณสนามไฟฟ้าที่เกิดจากการกระจายประจุอย่างสม่ำเสมอ ให้แบ่งการกระจายประจุออกเป็นชิ้นๆ คำนวณสนามที่เกิดจากแต่ละชิ้นเล็กๆเหล่านั้น แล้วหาผลบวกของเวกเตอร์ของสนาม หรือหาผลบวกของแต่ละองค์ประกอบ ซึ่งมักใช้วิธีการอินทิเกรต เราใช้ความหนาแน่นประจุเชิงเส้น l ความหนาแน่นประจุต่อพื้นที่ o และความหนาแน่นประจุต่อปริมาตร p บรรยายการกระจายประจุ
8) เส้นสนามเป็นสิ่งที่แทนสนามไฟฟ้าด้วยภาพ ที่จุดใดๆบนเส้นสนามเส้นหนึ่ง เส้นสัมผัสกับสันสนามมีทิศทางเดียวกับสนามไฟฟ้า e ที่จุดใดนั้น บริเวณที่เส้นสนามอยู่ใกล้กันeมีค่าสูงกว่า บริเวณที่สนามอยู่ห่างกัน e มีค่าน้อยกว่า
9) ขั้วคู่ไฟฟ้าคือคู่ของประจุไฟฟ้าที่มีประจุไฟฟ้า q เท่ากัน แต่มีเครื่องหมายอยู่ตรงกันข้าม อยู่ห่างกันเป็นระยะ d นิยามโมเมนต์ขั้วคู่ไฟฟ้า p ให้มีขนาด p = qd ทิศทางของ p ชี้จากประจุลบเข้าหาประจุบวก ขั้วคู่ไฟฟ้าที่อยู่ในสนามไฟฟ้าจะมีทอร์กระทำต่อมันด้วยขนาด
โดยที่ o คือมุมระหว่างทิศของ p และ e ทอร์เวกเตอร์ t
10)พลังงานศักย์สำหรับขั้วคู่ไฟฟ้าที่อยู่ในสนามไฟฟ้า e มีค่าขึ้นอยู่กับการวางตัวของโมเมนต์ขั้วคู่ไฟฟ้า p เทียบกับสนามไฟฟ้า

ตอบข้อ 4. สนามไฟฟ้าที่ A มีค่าเท่ากับสนามไฟฟ้าที่ B

ที่มา http://phlecture.tripod.com/CU/ele.htm


คำอธิบาย
ความถี่ (อังกฤษ: frequency) คือปริมาณที่บ่งบอกจำนวนครั้งที่เหตุการณ์เกิดขึ้นในเวลาหนึ่ง การวัดความถี่สามารถทำได้โดยกำหนดช่วงเวลาคงที่ค่าหนึ่ง นับจำนวนครั้งที่เหตุการณ์เกิดขึ้น นำจำนวนครั้งหารด้วยระยะเวลา และ คาบ เป็นส่วนกลับของความถี่ หมายถึงเวลาที่ใช้ไปในการเคลื่อนที่ครบหนึ่งรอบ

ในระบบหน่วย SI หน่วยวัดความถี่คือเฮิรตซ์ (hertz) ซึ่งมาจากชื่อของนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ Heinrich Rudolf Hertz เหตุการณ์ที่มีความถี่หนึ่งเฮิรตซ์หมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหนึ่งครั้ง ทุกหนึ่งวินาที หน่วยอื่นๆ ที่นิยมใช้กับความถี่ได้แก่: รอบต่อวินาที หรือ รอบต่อนาที (rpm) (revolutions per minute) อัตราการเต้นของหัวใจใช้หน่วยวัดเป็นจำนวนครั้งต่อนาที

อีกหนึ่งวิธีที่ใช้วัดความถี่ของเหตุการณ์คือ การวัดระยะเวลาระหว่างการเกิดขึ้นแต่ละครั้ง (คาบ) ของเหตุการณ์นั้นๆ และคำนวณความถี่จากส่วนกลับของคาบเวลา:


เมื่อ T คือคาบ

[แก้] ความถี่ของคลื่น
สำหรับคลื่นเสียง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่นคลื่นวิทยุหรือแสง) สัญญาณไฟฟ้า หรือคลื่นอื่นๆ ความถี่ในหน่วยเฮิรตซ์ของคลื่นนั้นคือจำนวนรอบที่คลื่นนั้นซำรอยเดิมในหนึ่ง วินาที สำหรับคลื่นเสียง ความถี่คือปริมาณที่บ่งบอกความทุ้มแหลม

ความถี่ของคลื่นมีความสัมพันธ์กับความยาวคลื่น กล่าวคือความถี่ f มีค่าเท่ากับความเร็ว v ของคลื่นหารด้วยความยาวคลื่น λ (lambda) :


ในกรณีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เดินทางในสุญญากาศ ความเร็วด้านบนก็คือความเร็วแสง และสมการด้านบนก็เขียนใหม่ได้เป็น:


หมายเหตุ: เมื่อคลื่นเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง ความถี่ของคลื่นจะยังคงที่อยู่ ในขณะที่ความยาวคลื่นและความเร็วเปลี่ยนไปตามตัวกลาง

ตอบข้อ 1. 2.5 Hz
คำอธิบาย
อัตรา เร็ว (สัญลักษณ์: v) คืออัตราของ การเคลื่อนที่ หรือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งก็ได้ หลายครั้งมักเขียนในรูป ระยะทาง d ที่เคลื่อนที่ไปต่อ หน่วย ของ เวลา t

อัตราเร็ว เป็นปริมาณสเกลาร์ที่มีมิติเป็นระยะทาง/เวลา ปริมาณเวกเตอร์ที่เทียบเท่ากับอัตราเร็วคือความเร็ว อัตราเร็ววัดในหน่วยเชิงกายภาพเดียวกับความเร็ว แต่อัตราเร็วไม่มีองค์ประกอบของทิศทางแบบที่ความเร็วมี อัตราเร็วจึงเป็นองค์ประกอบส่วนที่เป็นขนาดของความเร็ว

ในรูปสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ อัตราเร็วคือ


หน่วยของอัตราเร็ว ได้แก่

เมตรต่อวินาที, (สัญลักษณ์ m/s) , ระบบหน่วย SI
กิโลเมตรต่อชั่วโมง, (สัญลักษณ์ km/h)
ไมล์ต่อชั่วโมง, (สัญลักษณ์ mph)
นอต (ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง, สัญลักษณ์ kt)
มัค เมื่อมัค 1 เท่ากับ อัตราเร็วเสียง มัค n เท่ากับ n เท่าของอัตราเร็วเสียง
มัค 1 ≈ 343 m/s ≈ 1235 km/h ≈ 768 mi/h (ดู อัตราเร็วเสียง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม)
อัตราเร็วแสง ใน สุญญากาศ (สัญลักษณ์ c) เป็นหนึ่งใน หน่วยธรรมชาติ
c = 299,792,458 m/s
การเปลี่ยนหน่วยที่สำคัญ
1 m/s = 3.6 km/h
1 mph = 1.609 km/h
1 knot = 1.852 km/h = 0.514 m/s
ยานพาหนะต่าง ๆ มักมี speedometer สำหรับวัดอัตราเร็ว

วัตถุที่เคลื่อนที่ไปตามแนวราบ พร้อม ๆ กับแนวดิ่ง (เช่น อากาศยาน) จะแยกประเภทเป็น forward speed กับ climbing speed

ตอบข้อ 2. ความยาวคลื่นในน้ำลึกมากกว่าความยาวคลื่นในน้ำตื้น

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7
คำอธิบาย
อัตราเร็ว (สัญลักษณ์: v) คืออัตราของ การเคลื่อนที่ หรือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งก็ได้ หลายครั้งมักเขียนในรูป ระยะทาง d ที่เคลื่อนที่ไปต่อ หน่วย ของ เวลา t

อัตราเร็ว เป็นปริมาณสเกลาร์ที่มีมิติเป็นระยะทาง/เวลา ปริมาณเวกเตอร์ที่เทียบเท่ากับอัตราเร็วคือความเร็ว อัตราเร็ววัดในหน่วยเชิงกายภาพเดียวกับความเร็ว แต่อัตราเร็วไม่มีองค์ประกอบของทิศทางแบบที่ความเร็วมี อัตราเร็วจึงเป็นองค์ประกอบส่วนที่เป็นขนาดของความเร็ว

ตอบข้อ 3. 4.0 m/s

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7
คำอธิบาย

การกระจัด หรือการขจัด ในทางฟิสิกส์ หมายถึงระยะห่างของการเคลื่อนที่จากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสุดท้ายโดยจะมี ลักษณะเป็นเส้นตรง ซึ่งจะเป็นระยะทางที่สั้นที่สุดระหว่างจุดสองจุดใด ๆ ในขณะที่เราเคลื่อนที่ เราจะเปลี่ยนตำแหน่งที่อยู่ตลอดแนว เช่น ขณะเราขับรถยนต์ไปตามท้องถนน เราจะเคลื่อนที่ผ่านถนน ถนนอาจเป็นทางตรง ทางโค้ง หรือหักเป็นมุมฉาก ระยะทางที่รถเคลื่อนที่อาจเป็นระยะทางตามตัวเลขที่ราบของการเคลื่อนที่ แต่หากบางครั้งเราจะพบว่า จุดปลายทางที่เราเดินทางห่างจากจุดต้นทางในแนวเส้นตรง หรือในแนวสายตาไม่มากนัก

ระยะทาง (distance) คือ ความยาวตามเส้นทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้ทั้งหมด เป็นปริมาณสเกลาร์ คือ มีแต่ขนาดอย่างเดียว มีหน่วยเป็นเมตร โดยทั่วไปเราใช้สัญลักษณ์ S

การกระจัด (displacement) คือ เส้นตรงที่เชื่อมโยงระหว่างจุดเริ่มต้น และจุดสุดท้ายของการเคลื่อนที่เป็นปริมาณเวกเตอร์ คือ ต้องคำนึงถึงทิศทางด้วย มีหน่วยเป็นเมตร โดยทั่วไปเขียนแบบเว็กเตอร์เป็น S
ตอบข้อ 2. 65 km
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94
คำอธิบาย
อัตราเร็ว (สัญลักษณ์: v) คืออัตราของ การเคลื่อนที่ หรือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งก็ได้ หลายครั้งมักเขียนในรูป ระยะทาง d ที่เคลื่อนที่ไปต่อ หน่วย ของ เวลา t

อัตราเร็ว เป็นปริมาณสเกลาร์ที่มีมิติเป็นระยะทาง/เวลา ปริมาณเวกเตอร์ที่เทียบเท่ากับอัตราเร็วคือความเร็ว อัตราเร็ววัดในหน่วยเชิงกายภาพเดียวกับความเร็ว แต่อัตราเร็วไม่มีองค์ประกอบของทิศทางแบบที่ความเร็วมี อัตราเร็วจึงเป็นองค์ประกอบส่วนที่เป็นขนาดของความเร็ว
ตอบข้อ 3. 08.30 น.

ที่มา http://www.dekying.com/women405.htm
คำอธิบาย
ประจุไฟฟ้า เป็นคุณสมบัติพื้นฐานถาวรหนึ่งของอนุภาคซึ่งเล็กกว่าอะตอม (subatomic particle) เป็นคุณสมบัติที่กำหนดปฏิกิริยาแม่เหล็กไฟฟ้า สสารที่มีประจุไฟฟ้านั้นจะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ในขณะเดียวกันก็จะได้รับผลกระทบจากสนามด้วยเช่นกัน ปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างประจุ และ สนาม เป็นหนึ่งในสี่ ของแรงพื้นฐาน เรียกว่า แรงแม่เหล็กไฟฟ้า

ตอบข้อ 3. A และ B มีประจุบวก แต่ C มีประจุลบ

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2

คำอธิบายการเคลื่อนที่ (อังกฤษ: motion) คือ การเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งวัดโดยผู้สังเกตที่เป็นส่วนหนึ่งของกรอบอ้างอิง เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เซอร์ไอแซก นิวตัน ได้เสนอกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันในหนังสือ Principia ของเขา ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกฎพื้นฐานของฟิสิกส์ดั้งเดิม การคำนวณการเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ โดยใช้ฟิสิกส์ดั้งเดิมนั้นประสบความสำเร็จมาก จนกระทั่งนักฟิสิกส์เริ่มศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง มาก

ตอบข้อ 2. ความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88

คำ อธิบาย
จากโจทย์ u = 4.9 , g = 9.8 , v = 0(จุดสูงสุดv=0) , t = ?
มี u g v หา t
แต่ โยนขึ้น มัน มีทิศ ตรงข้ามกับแรงโน้มถ่วง g จะติด -

จาก v = u + gt
0 = 4.9 - 9.8t
-4.9 = -9.8t
t = 4.9/9.8
t = 0.5 วินาที

ตอบข้อ 1. 0.5 s

ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=6d2cdb15e2e38420


คำอธิบาย
การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ (Projectile)
คือการเคลื่อนที่ในแนวโค้งพาราโบลา ซึ่งเกิดจากวัตถุได้รับความเร็วใน 2 แนวพร้อมกัน คือ ความเร็วในแนวราบและความเร็วในแนวดิ่ง ตัวอย่างของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ได้แก่ ดอกไม้ไฟ น้ำพุ การเคลื่อนที่ของลูกบอลที่ถูกเตะขึ้นจากพื้น การเคลื่อนที่ของนักกระโดดไกล

กาลิเลโอ เป็นคนแรกที่อธิบายการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ได้อย่างละเอียด เขาได้อธิบายว่าถ้าจะศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุแบบโพรเจกไทด์ได้อย่าง ละเอียดนั้น ต้องแยกศึกษาส่วนประกอบในแนวราบ และ ในแนวดิ่งอย่างอิสระไม่เกี่ยวข้องกัน

กาลิเลโอได้อธิบายว่า การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ เป็นการเคลื่อนที่ที่ประกอบด้วยการเคลื่อนที่ในสองแนวไม่ใช่แนวเดียว โดยในแนวดิ่งจะมีแรงเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกกระทำต่อวัตถุให้เคลื่อนที่ลง ด้วยความเร่ง 9.8 m/s2 และในเวลาเดียวกับที่วัตถุถูกดึงลง โพรเจกไทล์ก้ยังคงเคลื่อนที่ตรงในแนวราบด้วย ( หลักความเฉื่อยของกาลิเลโอ Galilao's pricipal Inertia ) เขาแสดงให้เห็นว่า โพรเจกไทล์นั้นได้ จะประกอบด้วยการเคลื่อนที่ 2 แนว พร้อม ๆกัน โดยในแต่ละแนวนั้นจะเคลื่อนที่อย่างอิสระไม่เกี่ยวข้องกัน และยังพบว่าเส้นทางการเคลื่อนที่ของโพรเจกไทล์จะเป็นรูปเรขาคณิต ที่เรียกว่า "พาราโบลา"
ตอบข้อ 3. มีค่าเท่ากับอัตราเร็วเมื่อเริ่มเคลื่อนที่


วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553






ตอบ ข้อ 1. ระยาทางจากดวงอาทิตย์ถึงดาวที่ขอบนั้น

สืบค้นข้อมูล

ระยะ ทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์นั้นไม่แน่นอน โดยเฉลี่ยแล้วมีระยะทาง 149,000,000,000 เมตร หรือ 92,600,000 ไมล์ครับ ที่มาประมาณ 149 หรือ 152 ล้าน km 149คือโคจรรอบดวงอาทิตย์เปงวงรี แต่ส่วนป่องของโลกจะร้อนเพราะอยู่ไกล้ดวงอาทิตย์อากาศจะร้อนมาก 152 ล้านkm เปงวงโคจรโลกเราตามปัจจุบัน อีกประมาณ 5000 ล้านปีก็จะไม่มีโลกใบนี้แล้ว เพราะดวงอาทิตย์กำลังขยายตัวและเกิดแรงโน้มถ่วงมหาศาล ดาวเคราะดวงในจะถูกดวงอาทิตย์กลืนกินเข้าไป
แงๆๆๆ สงสารโลกเราจังอีก 5000 ล้านปีจะถูกดวงอาทิตยฺกลืนกิน











ตอบ ข้อ 3. อัตราการเย็นตัวของลาวา

สืบค้นข้อมูล

ใน บรรดากาแล็กซีจำนวนมากที่รวมกันเป็นเอกภพนั้น มีอยู่กาแล็กซีหนึ่งที่เรารู้จักกันดีที่สุด นั่นคือ ทางช้างเผือก เนื่องจากเป็นกาแล็กซีที่เราตั้งรกรากอยู่ และเนื่องจากว่าทางช้างเผือกนี้มีส่วนปลายด้านหนึ่งเป็นแนวราบซึ่งเป็นที่ อยู่ของดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ทั้งหลายที่เป็นดาวบริวาร ทำให้เราได้แต่เฉพาะด้านข้างของมันเมื่อมองไปบนฟ้าในเวลากลางคืน และจะแลเห็นมันเป็นเหมือนแถบสีขาวสว่างสุกใสแถบหนึ่งพาดอยู่บนฟากฟ้าจาก ข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง
ประวัติ (HISTORY
อริสโตเติล (Aristotle) คิดว่าแถบสีขาวที่พาดข้ามฟ้าเป็นความปั่นป่วนอย่างหนึ่งของบรรยากาศในคริสต์ ศตวรรษที่ 17 เมื่อมีการสร้างกล้องโทรทรรศน์ขึ้นได้เป็นครั้งแรกแล้วนั้น กาลิเลโอก็ได้พบว่าแถบสีขาวนี้แท้ที่จริงประกอบขึ้นด้วยดาวฤกษ์จำนวนมากและ ไม่ได้เป็นปรากฎการณ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบรรยากาศของโลกเราเลยแม้แต่น้อย ต่อมาก็ได้มีการค้นพบดาวฤกษ์ใหม่ ๆ ทีละดวงสองดวง และตั้งแต่นั้นมา คำว่าทางช้างเผือก (the Milky Way) ก็มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าเอกภพ (the Universe) แต่ครั้นถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 อันเป็นยุคที่มีการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ใหม่ กลับพบว่ามีหมู่ของดาวฤกษ์ (Clusters of Stars) อื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกเป็นจำนวนมหาศาล นั่นคือกาแล็กซีใหม่จำนวนมาก ดังนั้นเอกภพจึงไม่ใช่เป็นแค่ทางช้างเผือกอีกต่อไป แต่มันคือที่รวมของกาแล็กซีต่าง ๆ รวมทั้งกาแล็กซีของเราด้วย
รูปร่างของกาแล็กซีของเรา (THE SHAPE OF OUR GALAXY)

เมื่อเรามองทางช้างเผือก เราจะแลเห็นว่ามันเป็นรูปแถบยาวแถบหนึ่ง แต่นั้นเป็นแต่สิ่งที่เราเห็นด้วยตา เพราะว่าเราอยู่ในระนาบเดียวกัน ที่จริงแล้วทางช้างเผือกเป็นกาแล็กซีรูปเกลียวก้นหอย (spiral) ที่ตรงกลางมีรูปคล้ายเลนส์หรือจานแบนใบหนึ่งและมีแขนยื่นออกมาจากส่วนกลาง นั้น 4 แขน ดวงอาทิตย์และโลกของเราอยู่ตรงปลายสุดของ 1 ใน 4 แขนนี้

วิวัฒนาการของทางช้างเผือก (EVOLUTION OF THE MILKY WAY)
ดูเหมือนว่าทางช้างเผือกนั้นแต่เดิมเป็นกาแล็กซีรูปทรงกลมที่ หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วต่ำ ต่อมาเมื่อสสารระหว่างดวงดาวตรงใจกลางมีมากขึ้นทำให้มีความหนาแน่นเพิ่ม ขึ้นและความเร็วในการหมุนรอบตัวเองก็เพิ่มขึ้นด้วย เป็นเหตุให้มันค่อย ๆ แผ่เบนออกกลายเป็นรูปจานอย่างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน และเพราะว่ามีดาวฤกษ์ได้ก่อตัวขึ้นตรงบริเวณชายขอบจานทำให้เกิดเป็นแขนหลาย แขนยื่นออกมา จนในที่สุดก็เกิดเป็นรูปเกลียวก้นหอยรูปหนึ่งที่มีแขน 4 แขน กระบวนการนี้กินเวลาประมาณ 10,000 ล้านปี ใจกลางของทางช้างเผือกมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15,000 ปีแสง และมีความหนาราว 2,000 ปีแสง มีการคำนวณกันว่าทางช้างเผือกประกอบขึ้นด้วยดาวฤกษ์ประมาณ 300,000 ดวง ดาวทุกดวงที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของกาแล็กซีของเรา










ตอบ ข้อ 3. การชนกันของแผ่นเปลือกโลก
สืบค้นข้อมูล

เทือกเขาหิมาลัย (อังกฤษ: Himalaya Range) เป็นเทือกเขาในทวีปเอเชีย ที่แยกอนุทวีปอินเดียทางเหนือ ออกจากที่ราบสูงทิเบตทางใต้ เป็นที่ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ และยอดเขากันเจนชุงคา (Kanchenjunga). ในทางศัพทมูลวิทยา คำว่า หิมาลัย มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง "ที่อยู่ของหิมะ" (หิม + อาลย) [ต้องการอ้างอิง]
เทือกเขาหิมาลัยทอดยาวพาดผ่านพื้นที่ของ 5 ประเทศ — ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน และเนปาล — เป็นจุดกำเนิดของระบบแม่น้ำที่สำคัญของโลกหลายสาย แอ่งแม่น้ำสินธุ และแอ่งแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง พื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหิมาลัยเป็นที่อยู่ของผู้คนราว 750 ล้านคน ซึ่งรวมถึงชาวบังคลาเทศ





ตอบ 4.หินดินดาน (Shale)
เป็น หินตะกอนเนื้อละเอียดมาก เนื่องจากประกอบด้วยอนุภาคทรายแป้งและอนุภาคดินเหนียวทับถมกันเป็นชั้นบางๆ ขนานกัน เมื่อทุบหินจะแตกตัวตามรอยชั้น (ฟอสซิลมีอยู่ในหินดินดาน) ดินเหนียวที่เกิดดินดานใช้ทำเครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก




ตอบ 2. แผ่นยูเนเซียกับแผ่นแปซิฟิก
ธรณีแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (อังกฤษ: Plate tectonics; มาจากภาษากรีก: τέκτων, "tektōn" แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้รวมและลบล้างทฤษฎีเก่าที่เกี่ยวกับการเลื่อนไหลของทวีปที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ. 2443-2493 รวมถึงแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจายของพื้นทะเลที่ถูกคิดขึ้นระหว่างคริสตทศวรรษที่ 1960 (ช่วงต้น พ.ศ. 2500)
ส่วนนอกสุดของโครงสร้างของโลกนั้นประกอบไปด้วยชั้นสองชั้น ชั้นที่อยู่นอกสุดคือชั้นดินแข็ง (lithosphere) ที่มีเปลือกโลกและชั้นนอกสุดของแมนเทิลที่เป็นเย็นตัวและแข็งแล้ว ภายใต้ชั้นดินแข็งคือชั้นดินอ่อน (aethenosphere) ซึ่งแม้ว่ายังมีสถานะเป็นของแข็งอยู่ แต่ชั้นดินอ่อนนั้นมีความยืดหยุ่นค่อนข้างต่ำและขาดความแข็งแรง ทั้งยังสามารถไหลได้คล้ายของเหลวซึ่งขึ้นอยู่กับลำดับเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู่ลึกลงไปภายใต้ชั้นดินอ่อนนั้นจะมีความแข็งมากขึ้นอีก ครั้ง กระนั้นความแข็งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเย็นลงของอุณหภูมิ แต่เนื่องมาจากความดันที่มีอยู่สูง
ชั้นดินแข็งนั้นจะแตกตัวลงเป็นสิ่งที่เรียก ว่าแผ่นเปลือกโลก ซึ่งในกรณีของโลกนั้น สามารถแบ่งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้เจ็ดแผ่น และแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนมาก แผ่นดินแข็งจะเลื่อนตัวอยู่บนชั้นดินอ่อน และจะเคลื่อนตัวสัมพันธ์กับแผ่นเปลือกโลกอื่นๆ ซึ่งการเคลื่อนที่นี้สามารถแบ่งได้เป็นสามขอบเขตด้วยกันคือ ขอบเขตที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน, ขอบเขตที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน และขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ โดยปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆ ได้แก่แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟปะทุ, การก่อตัวขึ้นของภูเขา และการเกิดขึ้นของเหวสมุทรนั้น จะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผ่นดิน การเคลื่อนตัวด้านข้างของแผ่นดินนั้นมีอัตราเร็วอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรต่อปี
ที่ มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81



สืบค้นข้อมูล
เปลือก โลกมิได้เป็นแผ่นเดียวต่อเนื่องติดกันดังเช่นเปลือกไข่ หากแต่เหมือนเปลือกไข่แตกร้าว มีแผ่นหลายแผ่นเรียงชิดติดกันเรียกว่า “เพลต” (Plate) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 20 เพลต เพลตที่มีขนาดใหญ่ ได้แก่ เพลตแปซิฟิก เพลตอเมริกาเหนือ เพลตอเมริกาใต้ เพลตยูเรเซีย เพลตแอฟริกา เพลตอินโด-ออสเตรเลีย และเพลตแอนตาร์กติก เป็นต้น เพลตแปซิฟิกเป็นเพลตที่ใหญ่ที่สุดและไม่มีเปลือกทวีป กินอาณาเขตหนึ่งในสามของพื้นผิวโลก เพลตทุกเพลตเคลื่อนตัวเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างอยู่ตลอด






ตอบข้อ 4.หินตะกอน
สืบค้นข้อมูล
หินตะกอน (อังกฤษ: sedimentary rock) คือ หินที่เกิดจากการตกตะกอนของเม็ดแร่ที่ได้จากการผุพังของหินชนิดใดก็ได้ที่ผิวโลก และถูกพัดพาไปโดย น้ำ ลม หรือธารน้ำแข็ง แล้วจับตัวกันแข็งเป็นหิน หรือ เกิดจากการตกตะกอนทางเคมีของสารละลายจากในน้ำ ในลำธาร ทะเล หรือมหาสมุทร เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีหรือการระเหยของน้ำ ที่อุณหภูมิปกติบนผิวโลก ลักษณะเด่นของหินตะกอน คือ การเกิดเป็นชั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ หรือแสดงลักษณะโครงสร้างของการตกตะกอนตามลำดับอายุ





ตอบข้อ 3.ชั้นเนื้อโลก
สืบค้นข้อมูล
ชั้นเนื้อโลก (Mantle)
ชั้นเนื้อโลกเป็นชั้นที่อยู่ถัดจากชั้นเปลือกโลกลงไปจนถึงระดับความลึกประมาณ 2,900 กิโลเมตร ใต้ตำแหน่ง Moho ลงไป ความเร็วของคลื่นแผ่นดินไหวทั้งที่เป็นคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่าชั้นเนื้อโลกประกอบไปด้วยส่วนประกอบที่มีความหนาแน่นสูง และการที่คลื่นทุติยภูมิสามารถเดินทางในชั้นเนื้อโลกได้ย่อมแสดงว่าชั้นเนื้อโลกเป็นของแข็ง ส่วนประกอบของชั้นเนื้อโลกมีการเปลี่ยนแปลงบ้างทั้งในแนวดิ่งและในแนวราบ แต่อย่างไรก็ดีส่วนประกอบของชั้นเนื้อโลกยังมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวมากกว่าชั้นเปลือกโลก ชั้นเนื้อโลกแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน
1. ชั้นเนื้อโลกส่วนบน (upper mantle) ประกอบด้วย dunite, echogite และ peridotite
2. ชั้นเนื้อโลกส่วนล่าง (lower mantle) ประกอบด้วยสารจำพวก oxides และ silicate

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรม 17 พฤศจิกายน


1. ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ลงในสมุดงานบันทึกคะแนนที่ได้










 


2. ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล พร้อมที่มาของแห่งข้อมูลลงใน Blog ของตนเอง กำหนดส่งท้ายคาบเรียนที่ 2 ดังนี้


 












สืบค้นข้อมูล




 


       ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 มีขนาดเล็กกว่าโลกเล็กน้อย จึงได้ชื่อว่าเป็นดาวฝาแฝดกับโลก เป็นดาวเคราะห์ที่ปรากฏสว่างที่สุด สว่างรองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ถ้าเห็นทางทิศตะวันตกในเวลาค่ำเรียกว่า ดาวประจำเมือง และถ้าเห็นทางทิศตะวันออกในเวลาก่อนรุ่งอรุณ เรียกว่า ดาวประกายพรึก ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกอย่างรุนแรง เพราะมีบรรยากาศหนาทึบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ ดาวศุกร์จึงร้อนมาก อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยสูงกว่าดาวพุธ ดาวศุกร์มีโอกาสเข้ามาใกล้โลกที่สุด ใกล้กว่าดาวพุธ ซึ่งนักดาราศาสตร์ยุคโบราณเข้าใจผิดคิดว่าอยู่ใกล้โลกที่สุด ลักษณะพิเศษของดาวศุกร์คือ หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลานานกว่าการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ และถ้าเราอยู่บนดาวศุกร์เวลา 1 วัน จะไม่ยาวเท่ากับเวลาที่ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ นี่คือลักษณะพิเศษที่ดาวศุกร์ไม่เหมือนดาวเคราะห์ดวงใดๆ นอกจากนี้ดาวศุกร์ยังหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือหมุนจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ในขณะที่เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ดาวศุกร์จึงหมุนสวนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่น และหมุนสวนทางกับการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองรอบละ 243 วัน แต่ 1 วันของดาวศุกร์ยาวนานเท่ากับ 117 วันของโลก เพราะตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกยาวนาน 58.5 วันของโลก ดาวศุกร์เคลื่อนรอบดวงอาทิตย์รอบละ 225 วัน 1 ปีของดาวศุกร์จึงยาวนาน 225 วันของโลก       


 



ตอบข้อ.  2. ดาวศุกร์


 




 


สืบค้นข้อมูล


 




     องค์ประกอบหลักของดาวพฤหัสบดีคือ ก๊าซไนโตรเจนและก๊าซฮีเลียม ซึ่งเป็นองค์ประกอบประมาณ 75% และ 25% โดยมวลตามลำดับ นอกจากก๊าซสองชนิดหลักแล้วยังมีสารอื่นๆปะปนอยู่บ้างแต่มีปริมาณน้อยมาก การศึกษาธาตุองค์ประกอบของดาวพฤหัสบดีอย่างละเอียดชี้ให้เห็นว่า ดาวพฤหัสบดีมีปริมาณธาตุองค์ประกอบคล้ายกับดวงอาทิตย์มาก แสดงให้เห็นว่าดาวเคราะห์ก๊าซดวงนี้แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบเลยตั้งแต่รวมตังขึ้นเมื่อหลายพันปีมาแล้ว
     เนื่องจากดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ก๊าซ จึงไม่มีพื้นผิวแข็งที่ชัดเจนดังเช่นโลกหรือดาวเคราะห์แข็งอื่นๆ แต่เนื้อสารชั้นบนบริเวณผิวของดาวค่อยๆ เบาบางลงและหายไปในอวกาศ ในการศึกษาดาวพฤหัสบดี นักดาราศาสตร์จึงใช้ระดับที่มีความดัน 1 บาร์ ( เท่ากับความดันที่ผิวโลก ) ของบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีเป็นรัศมีของดาว หากใช้นิยามนี้ ดาวพฤหัสบดีจะมีรัศมีประมาณ 70,000 กิโลเมตร ที่ระดับผิวดาวเป็นแนวยอดเมฆ ( Cloud Top ) ของดาวพฤหัสบดีซึ่งมีอุณหภูมิ -148 องศาเซลเซียล ( 125 เคลวิน ) และความหนาแน่นประมาณ 0.0002 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร


 


    นอกจากไฮโดรเจนและฮีเลียมซึ่งเป็นองค์ประกอบเกือบทั้งหมดแล้ว บรรยากาศดาวพฤหัสบดียังมี มีเท แอมโมเนีย แอมโมเนียม ไฮโดรซัลไฟด์ และน้ำเป็นองค์ประกอบย่อย องค์ประกอบเหล่านี้ทำให้ดาวพฤหัสบดีปรากฏมีสีแดงเรื่อๆ ในบริเวณต่างๆอย่างที่เป็น เพราะหากดาวพฤหัสบดีมีเพียงไฮโดรเจนและฮีเลียม ดาวทั้งสองจะเป็นเพียงก้อนก๊าซยักษ์ไร้สีสัน บรรยากาศของดาวพฤหัสบดีมีลมพัดแรงทั้งดวง หลายบริเวณมีความเร็วสูงถึง 650 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งเกิดจากการที่ดาวพฤหัสบดีหมุนรอบตัวเองในเวลาเพียง 10 ชั่วโมงเท่านั้น ( เมื่อเทียบกับขนาดมหึมาของดาวพฤหัสบดีแล้ว นับว่าเป็นความเร็วที่คล้ายกับการหมุนของลูกข่าง ) นอกจากนี้การหมุนที่รวดเร็วยังทำให้ดาวพฤหัสบดีมีลักษณะกลมแป้นคล้ายผลส้มคือ มีเส้นผ่าศูนย์กลางบริเวณศูนย์สูตรยาวกว่าบริเวณขั้วอย่างเห็นได้ชัด (เส้นผ่านศูนย์กลางที่ขั้วและที่เส้นศูนย์สูตร คือ 133,708 และ 142,984 กิโลเมตร ตามลำดับ)


 



 


ตอบข้อ. 2. ไฮโดรเจนและฮีเลียม


 


 






 สืบค้นข้อมูล
   


     
   ดาวนิวตรอน ( Neutron) คือ ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่า 8 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ดาวจะมีแรงโน้มถ่วงสูงมากจนความดันภายในของอิเล็กตรอนไม่มีบทบาทเข้ามาขัด ขวางการยุบตัวของดาว เมื่อฮีเลียมที่แกนกลางหมดลง ดาวมวลมากจะยุบตัวลงและเพิ่มอุณหภูมิแกนกลางสูงขึ้นถึง 600 ล้านเคลวิน เพื่อจุดฟิวชันคาร์บอนได้อย่างง่ายดายในเวลาไม่เกิน 500 ปี คาร์บอนในแกนกลางก็จะถูกแทนที่ด้วยออกซิเจนที่เป็นขี้เถ้าของฟิวชันคาร์บอน ไปจนหมดสิ้น ฟิวชันคาร์บอนที่แกนกลางหยุดลง ดาวจะยุบอัดตัวลงอีกจนมีอุณหภูมิสูงถึง 1,500 ล้านเคลวิน และจุดฟิวชันของนีออนและออกซิเจนต่อไปอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ฟิวชันออกซิเจนถูกจุดขึ้นที่แกนกลาง ฟิวชันเปลือกคาร์บอน ฟิวชันเปลือกฮีเลียม และฟิวชันเปลือกไฮโดรเจน ก็กำลังดำเนินต่อไปเช่นกัน จึงเรียกว่า "การเกิดปฏิกิริยาฟิวชันเปลือกหลายชั้น"
    ดาวนิวตรอนเป็นดาวที่มีความหนาแน่นมากที่สุด อัดแน่นไปด้วยนิวตรอนเกือบทั้งหมด เนื้อดาวขนาดหนึ่งช้อนชาจะหนักถึงหนึ่งพันล้านตันบนโ ลกหรือมากกว่า ดาวนิวตรอนที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์จะมีขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลางเท่ากับเมือง เล็กๆเท่านั้น เมื่อ ปี 2005 นาซาตรวจพบดาวนิวตรอนสองดวงชนกันซึ่งปล่อยรังสีแกมมา ออกมาอย่างมหาศาล มีความสว่างเท่ากับแสงของดวงอาทิตย์ถึง 100,000 ล้านล้านเท่า นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการชนกันของดาวนิวตรอนจะกลายเ ป็นหลุมดำในที่สุด


ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99

ตอบข้อ. 4. ดาวนิวตรอน












สืบค้นข้อมูล 


 


   ความสว่างของดาวฤกษ์บอกได้จากตัวเลขที่ไม่มีหน่วยที่เรียกว่า อันดับความสว่าง หรือ แมกนิจูด ( Magnitude ) ของดาวที่มีอันดับความสว่างต่างกัน 1 จะสว่าสงมากกว่ากัน 2 เท่าครึ่ง ดดยอันดับความสว่างทีีเป็นบวกหรือตัวเลขมาก ๆ จะมีความสว่างน้อย ๆ เช่นดาวที่มีอันดับความสว่าง - 1 จะมีความสว่างมากกว่าดาวฤกษ์ที่มีความสว่าง 1






 


ตอบข้อ. 4. ดาว D มีอันดับความสว่าง -2?










สืบค้นข้อมูล


 


   ปีแสง คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792.458 กิโลเมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607?1012 กิโลเมตร = 63,241.077 หน่วยดาราศาสตร์ = 0.30660 พาร์เซก เนื่องจากเอกภพมีขนาดมหึมา แสงจากวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ไกลจึงใช้เวลาหลายปีกว่าจะเดินทางมาถึงเรา นั่นหมายความว่าเราเห็นอดีตของวัตถุนั้นอยู่ตลอดเวลา
ที่มา:



ตอบข้อ. 4. หน่วยของเวลาแบบหนึ่ง


 


 



สืบค้นข้อมูล

เมื่อดาวฤกษ์ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเกือบหมด ฮีเลียมจะกลายเป็นเชื้อเพลิงต่อไป   จะเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุอื่น ๆ ต่อไปจน
เชื้อเพลิงหมดลง  ดาวฤกษ์จะเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจากการขยายเป็นดาวยักษ์แดง  วาระสุดท้ายจะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับมวลสารของดาวฤกษ์ดาวนั้น

ที่มา: http://www.waghor.go.th/v1/elearning/astro/universe_life1.php

ตอบข้อ. 2.การระเบิดซูเปอร์โนวา





สืบค้นข้อมูล

 ดาวฤกษ์ที่มีมากมายบนท้องฟ้า  จะมีสีและอุณหภูมิแตกต่างกันสีของดาวฤกษ์  สามารถบอกถึงอุณหภูมิด้วย  เช่น  ดาวฤกษ์ที่มีอุณหภูมิต่ำจะมีสีข้อนข้างแดง  และดาวฤกษ์ที่มีอุณหภูมิสูงจะมีสีขาวหรือสีขาวอมน้ำเงิน





 ตอบข้อ. 2.มีแสงสีแดง





สืบค้นข้อมูล


ดาวซิริอุส (อังกฤษ: Sirius) มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งในภาษาไทยว่า ดาวโจร[15] เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในตอนกลางคืนและสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีค่าระดับความสว่างอยู่ที่ -1.47 ซึ่งสว่างเกือบเป็นสองเท่าของดาวคาโนปัส ดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับสอง ชื่อ ซิริอุส มาจากภาษากรีกโบราณว่า ???????ระบบเบเยอร์ว่า อัลฟา คานิส เมเจอริส (? Canis Majoris หรือ ? CMa) ความจริงดาวที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าว่าเป็นดาวดวงเดียวนั้นเป็นระบบดาวคู่ ประกอบด้วยดาวสีขาวในลำดับหลัก (Main Sequence) ประเภท A1V ชื่อว่า ซิริอุสเอ (Sirius A) กับดาวแคระขาวสีจาง ๆ ในประเภท DA2 ชื่อว่า ซิริอุสบี (Sirius B) มีชื่อตาม


 



 


ตอบข้อ. 3. 6.25

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

สาระ วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต 2 รหัส ว 42282 ช่วงชั้นที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ระดับชั้น ม. 5
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายภาค
1. สืบค้นข้อมูล อภิปรายและอธิบายลักษณะและโครงสร้างของโลก
2. สำรวจ สืบค้นข้อมูล ทางด้านธรณีวิทยาในท้องถิ่น อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางธรณีภาค
3. สำรวจ ตรวจสอบ สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรณี ความสำคัญ ผลต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อมและการนำไปใช้ประโยชน์
4. สืบค้นข้อมูล และอธิบายการศึกษาประวัติทางธรณีจากซากดึกดำบรรพ์ การเปรียบเทียบลำดับชั้นหิน และอายุของหิน
5. สืบค้นข้อมูล และอธิบายการเกิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพ พลังงานของดาวฤกษ์ ที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น
6. สืบค้นข้อมูล และอธิบายเกี่ยวกับตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะและกาแล็กซี
7. สืบค้นข้อมูล และอธิบายเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศและโครงการอวกาศที่สำคัญ
8. สืบค้นข้อมูล และนำเสนอการใช้ประโยชน์ ของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอวกาศ ในการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ บนโลก ทำให้มีความรู้เกี่ยวกับอดีต และแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงลักษณะต่างๆบนโลก
9. ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการกระจัด เวลา ความเร็ว ความเร่งของการเคลื่อนที่ในแนวตรง
10. คำนวณหาปริมาณที่เกี่ยวข้องของการเคลื่อนที่ในแนวตรง
11. สำรวจ ตรวจสอบและอธิบายการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไตล์และการใช้ประโยชน์
12. สำรวจ ตรวจสอบและอธิบายการเคลื่อนที่แบบวงกลม และการใช้ประโยชน์
13. สำรวจ ตรวจสอบและอธิบายการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิก และการใช้ประโยชน์
14. สำรวจ ตรวจสอบ วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรง การเคลื่อนที่ของอนุภาคหรือวัตถุในสนามโน้มถ่วง และการนำไปใช้ประโยชน์
15. สำรวจ ตรวจสอบ วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรง การเคลื่อนที่ของอนุภาคหรือวัตถุในสนามไฟฟ้า รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์
16. สำรวจ ตรวจสอบ วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรง การเคลื่อนที่ของอนุภาคหรือวัตถุในสนามแม่เหล็ก และการนำไปใช้ประโยชน์